News & Promotion
การเลือก Visualizer
24 Februay 2021 16:38
Visualizer อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นที่รู้จักและถูกเรียกแตกต่างกันออกไปหลายๆชื่อ Visualizer , Visual Presentation , Visual Presenter หรือ Document Camera แต่ที่ถูกเรียกบ่อยๆก็คือ Document Camera หรือ Visualizer อย่างไรก็ดีอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นได้มากกว่าชื่อที่มันถูกเรียก Visualizer คืออุปกรณ์ที่สามารถจับภาพสิ่งต่างๆเพื่อให้เรานำภาพออกฉายโดยเครื่องฉายภาพ เช่นเครื่องโปรเจคเตอร์หรือจอมอนิเตอร์ และที่พิเศษก็คือสามารถใช้แสดงเอกสารที่เป็นแผ่น วัตถุที่มีลักษณะโปร่งใส วัตถุที่มีรูปทรงสามมิติ สไลด์ 35 มิลลิเมตร แผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์ นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถอย่างที่เรานึกไม่ถึงว่าจะใช้งานได้หลาย รูปแบบขนาดนี้ และยังทำงานในแบบ real time ได้อีกด้วย
ปรกติถ้ามีเพียงคอมพิวเตอร์และโปรแกรม PowerPoint คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าแค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการ presentations แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เราจำเป็นต้องช้ Visualizer เมื่อความต้องการในการแสดงภาพของเรามากกว่าที่ความสามารถในการแสดงภาพของ คอมพิวเตอร์จะทำได้ อย่างเช่นในการแสดงจุดที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ การแสดงภาพขยายเข้าออก การหมุนวัตถุเพื่อให้ได้หลายมุมมอง
Visualizer เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าอย่างมากสำหรับการศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในชั้นเรียน ในการนำเสนองานทางธุรกิจ ในการประชุม การแพทย์ และอื่นๆอีกมาก Visualizer บางรุ่นนั้นเรายังสามารถใช้เอกสารร่วมกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
Visualizer ส่วนใหญ่จะมีช่องรับส่งสัญญาณ (input/output) หลายช่องเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้สัญญาณได้หลายชนิดเช่น สามารถต่อ Visualizer กับ Projector เพื่อฉายภาพให้ได้ขนาดที่ใหญ่บนจอภาพ หรือต่อเข้ากับ video-conferencing system , TV monitor , plasma , LCD monitor , Videotape recorder Visualizer บางรุ่นถูกผลิตมาให้มีหน่วยความจำสำหรับเก็บภาพ ทำให้เราสามารถเรียกภาพที่ถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำมาใช้ได้ทันที บางรุ่นอาจมีฟังชัน scanning มาให้ด้วยทำให้สามารถเก็บภาพเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและรวดเร็ว มี Visualizer จำนวนมากจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดโดยมีราคาตั้งแต่ไม่กี่หมื่นจนถึงหลายแสนบาท ในการเลือกซื้อก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะในการนำไปใช้งานและความต้องการของผู้ ใช้โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของ Visualizer
พื้นที่ในการรับภาพ (Shooting Area) คืออะไร
พื้นที่ในการรับภาพของตัวเครื่อง Visualizer จะบอกถึงขนาดเอกสารที่ตัวเครื่องสามารถรับภาพได้ โดยจะบอกเป็นขนาดกว้าง x ยาว เช่นขนาดเล็กสุด 21 x 16 มิลลิเมตรและขนาดใหญ่สุด 299 x 244 มิลลิเมตร Visualizer ที่มีพื้นที่ในการรับภาพมากกว่าย่อมได้เปรียบมากกว่าเนื่องจากสามารถรับภาพ เอกสารหรือวัตถุขนาดใหญ่ได้มากกว่านั่นเอง
Frame Rate (อัตราการสแกนภาพ) คืออะไร
อัตราการสแกนภาพจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเร็วในการจับภาพของเครื่อง Visualizer ตัวนั้น โดยบอกเป็นตัวเลขเช่น 15 fps (15 เฟรมต่อวินาที) , 20fps (20 เฟรมต่อวินาที) เป็นต้น จำนวนตัวเลขยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีนั่นหมายถึงสามารถจับภาพได้เร็วมากยิ่ง ขึ้น อัตราความเร็วในการจับภาพนี้จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อนำเอกสารมาวางที่ตัว เครื่องแล้วหมุนหรือเคลื่อนที่เอกสารนั้นๆถ้าอัตราการสแกนต่ำก็จะเห็นภาพ เอกสารในขณะเคลื่อนที่เป็นเงาๆ
พอร์ต Input/Output คืออะไร
พอร์ต Output คือพอร์ตที่จ่ายสัญญาณภาพไปยังอุปกรณ์ฉายภาพพอร์ตต่างๆชนิดกันให้ความคมชัด ของสัญญาณแตกต่างกัน พอร์ต S-video ให้สัญญาณภาพคมชัดกว่าพอร์ต Composite Video พอร์ต RGB (D-Sub 15 Pin) ให้ภาพคมชัดกว่า S-Video ถ้า Visualizer มีพอร์ตมาให้ครบทั้งสามพอร์ตนี้เลยก็ยิ่งดีทำให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ฉายภาพ ได้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ Visualizer บางรุ่นยังมีพอร์ต DVI มาให้ด้วยทำให้ได้คุณภาพของสัญญาณที่ดีขึ้นไปอีก พอร์ต Input มีไว้สำหรับรับสัญญาณใน Visualizer บางรุ่นมีพอร์ตนี้มาให้ด้วยโดยจะใช้ในกรณีที่ต้องการผ่านสัญญาณไปยังอุปกรณ์ ฉายภาพอีกที ทั้งพอร์ต Inputและพอร์ต Output ถ้ามีมากกว่าหนึ่งพอร์ตก็ยิ่งทำให้สามารถใช้งานได้กว้างมากขึ้น สามารถต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้มากขึ้นโดยไม่ต้องถอดสายเปลี่ยนสลับไปมาระหว่าง แต่ละเครื่อง
ความละเอียดและคุณภาพของภาพ
กล้องและการรับภาพคือหัวใจสำคัญของ Visualizer และสำคัญมากถ้าต้องการภาพที่ดีก็ต้องใช้ภาพต้นแบบที่มีคุณภาพดีด้วย ไม่มีระบบอิเล็คโทรนิคระบบไหนที่สามารถชดเชยภาพที่มีคุณภาพแย่ๆได้ กล้องและเลนส์ที่มีคุณภาพสูงถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดและมีสีที่สม จริงในทุกๆขนาดรวมถึงการย่อและขยายขนาดจากการ Zoom ด้วย ขั้นแรกก็ต้องเลือกภาพต้นแบบที่มีคุณภาพที่ดีก่อนแล้วกระบวนการทางอีเล็คโทร นิคจึงจะช่วยเสริมให้มีความคมชัดและมีรายละเอียดชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ความละเอียดของตัวกล้องที่ใช้รับภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่บอกถึงความสามารถของ เครื่องโดยความละเอียดนี้จะบอกเป็นจำนวนพิกเซลตัวอย่างเช่น 400,000 พิกเซล , 800,000 พิกเซลหรือ 850,000 พิกเซล ค่าความละเอียดยิ่งมากยิ่งทำให้ภาพชัดเจนมากขึ้น